วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สื่อคณิตศาสตร์

 ความหมายของ  สื่อหมายถึง   สิ่งต่างๆที่เป็นตัวกลางที่ผู้เลี้ยงดูเด็กนำมาช่วยในการเลี้ยงดูประสบการณ์ ค่านิยม ทัศนคติหรือทักษะที่ตนมีไปสู่เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพและเด็กเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายได้ดีที่สุด
ความสำคัญของสื่อ
1. เป็นเครื่องมือส่งเสริมเด็กให้กล้าแสดงออกและเกิดการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่า นิยม
หรือทักษะของผู้สอนไปสู่ผู้เรียน
3. เป็นเครื่องมือเร้าความสนใจของเด็ก ให้ติดตามเรื่องราวด้วย ความสนใจ
และไม่เกิดความรู้สึกว่าเป็นการ เรียน
4. เป็นเครื่องมือทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม และผู้เรียน
ได้รับประสบการณ์ตรงทำให้จำได้นาน
1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ
หมายถึง สื่อการสอนที่มีการสิ้นเปลือง เช่น ชอล์ก ฟิล์ม ภาพถ่าย ภาพยนตร์สไลด์

 แผ่นป้าย เป็นต้น
2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์
หมายถึง สื่อการสอนที่เป็นเครื่องมือ เป็นครุภัณฑ์ ซึ่งได้แก่ เครื่องขยายเสียง

 เครื่องรับวิทยุ เครื่องบันทึกเทปเสียง เครื่องฉายข้ามศรีษะ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ
 เช่น กระดานหก กระดานดำ กระบะทราย เป็นต้น
3. สื่อการสอนประเภทวิธีการหรือกระบวนการ
ได้แก่ การจัดแบบการสาธิต การทดลอง เกม และกิจกรรมต่างๆ การจัดสถานการณ์จำลอง

การเล่นบทบาทสมมติ การจัดศูนย์การเรียน รวมถึงกิจกรรมที่ผู้เลี้ยงดูเด็กจัดขึ้นโดยมุ่งเน้น
 ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งผู้เลี้ยงดูเด็กอาจใช้สื่อประเภทวัสดุและอุปกรณ์มาประกอบ
ในวิธี การหรือกระบวนการที่ผู้เลี้ยงดูเด็กจัดก็ได้
การเก็บรักษาสื่อ
1. เก็บสื่อให้เป็นระเบียบและเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะประเภทของสื่อ
2. ฝึกให้เด็กหยิบสื่อออกมาใช้ได้เองและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
3. ฝึกให้เด็กรู้ความหมายของรูปภาพหรือสีที่เป็นสัญลักษณ์แทนหมวดหมู่ประเภทของสื่อ

 เพื่อเด็กจะได้เก็บเข้าที่ได้ถูกต้อง
4. ตรวจสอบสื่อหลังจากที่ใช้แล้วทุกครั้งว่ามีสภาพสมบูรณ์ จำนวนครบถ้วนหรือไม่
5. ซ่อมแซมสื่อชำรุดและทำเติมส่วนที่ขาดหายไปให้ครบชุด การพัฒนาสื่อ

การพัฒนาสื่อเพื่อใช้ประกอบการจัดกิจกรรมในระดับก่อนประถมศึกษานั้น
 ก่อนอื่นควรได้สำรวจข้อมูลสภาพปัญหาต่าง ๆ ของสื่อทุกประเภทที่ใช้อยู่ว่า
มีอะไรบ้างที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข เพื่อจะได้ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับความต้องการ
แนวทางการพัฒนาสื่อ
1. ปรับปรุงสื่อให้ทันสมัยเข้ากับเหตุการณ์ ใช้ได้สะดวก ไม่ซับซ้อนเกินไป

เหมาะสมกับวัยของเด็ก
2. รักษาความสะอาดของสื่อถ้าเป็นวัสดุที่ล้างน้ำได้เมื่อใช้แล้วควรได้ล้างเช็ด

หรือปัดฝุ่นให้สะอาดเก็บไว้เป็นหมวดหมู่ วางเป็นระเบียบ หยิบใช้ง่าย
3. ถ้าเป็นสื่อที่ผู้เลี้ยงดูเด็กผลิตขึ้นมาใช้เองและผ่านการทดลองใช้มาแล้ว

ควรเขียนคู่มือประกอบการใช้สื่อนั้น โดยบอกชื่อสื่อ ประโยชน์และวิธีใช้
รวมทั้งจำนวนชิ้นส่วนของสื่อในชุดนั้น และเก็บคู่มือไว้ในซองหรือถุงพร้อมสื่อที่ผลิต
4. พัฒนาสื่อที่สร้างสรรค์ ใช้ได้อเนกประสงค์ คือเป็นได้ทั้งสื่อเสริมพัฒนาการ

และเป็นของเล่นสนุกสนานเพลิดเพลิน
สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
1.             ความเหมาะสม
2.             ความถูกต้อง 
3.             ความเข้าใจ  
4.             ประสบการณ์ที่ได้รับ 
5.             เหมาะสมกับวัย 
6.             เที่ยงตรงในเนื้อหาที่ครูสอน
.             ตรงกับความต้องการของเด็ก 
ข้อควรระวังในการเลือกสื่อ
               1. วัสดุที่ใช้ต้องไม่มีสารพิษและไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเด็ก
               2. ขนาดพอเหมาะ  น้ำหนักไม่มากเกินไป
               3. รูปทรงไม่แหลม หรือมีเหลี่ยม
               4. สีที่ใช้ต้องไม่เป็นอันตรายต่อสายตา
 
หลักการจัดสื่อประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
1. ประสบการณ์การเรียนรู้ควรให้สอดคล้องกับพัฒนาของผู้เรียน
2. ประสบการณ์การเรียนรู้ควรให้เหมาะสมกับความสนใจและความต้องการของผู้เรียน
3. ประสบการณ์การเรียนรู้ควรจัดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสิ่งที่เรียน
 และควรให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็นและมีคุณธรรม
4. ประสบการณ์ที่จัดควรเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน
5. กิจกรรมที่นำมาใช้ในการจัดประสบการณ์ ควรมีวิธีใช้แรงจูงใจ เร้าความสนใจของผู้เรียน
ไม่ซ้ำซาก ควรให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน เน้นการปฏิบัติและการได้ร่วมกิจกรรมมากที่สุด
6. ควรหาแนวทางในการประเมินผลที่เหมาะสม
   จากสื่อการจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไม่ว่าจะเป็น
ประเภทของสื่อ การเก็บรักษาสื่อ แนวทางการพัฒนาสื่อ สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสม
กับเด็กปฐมวัย  ข้อควรระวังในการเลือกสื่อ  และหลักการจัดสื่อประสบการณ์ทักษะพื้นฐาน
ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย พ่อแม่ผู้ปกครอง ครูสามารถจัดหาสื่อให้กับเด็กได้เรียนรู้
สื่อเกี่ยวกับทักษะทางคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
และหลังจากใช้สื่อเสร็จแล้ว ทุกครั้งหลังใช้สื่อครูควรเก็บรักษาให้สะอาดเรียบร้อย
และเป็นระเบียบ ควรมีการตรวจสอบซ่อมแซมสื่อทุกครั้งก่อนการใช้งานหรือหลังการใช้งาน
 เพื่อป้องการให้เด็กได้รับอุบัติเหตุ และครูควรตรวจดูสื่อว่าใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หรือไม่ เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเด็กมากน้อยเพียงใดและเด็กให้ความสนใจกับสื่อ
ที่ครูนำมาสอนหรือไม่

          การประเมิน
         (1)  การประเมินเ วินิจฉัยผู้เรียน   ด้วยการสังเกต การสอบปากเปล่า หรือการใช้แบบทดสอบเพื่อการวินิจฉัยทั้งนี้คำถามหรืองานที่
มอบหมาย   
             (2.)การประเมิน ทักษะการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน การดู การอธิบาย ซักถามหรือการแสดงแนวคิดทางคณิตศาสตร์ให้ผู้อื่นเข้าใจ และเข้าใจแนวคิดทางคณิตศาสตร์ที่ผู้อื่นนำเสนอ
             (3)  การประเมิน โดยเน้นการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง  ที่ครอบคลุมทั้งการทดสอบ การนำเสนอผลงานในชั้นเรียน การแก้ปัญหา  การทำภาระงานที่ได้รับมอบหมาย การทำกิจกรรมต่างๆ                 
             (4)  การประเมิน วิธีการประเมินควรพิจารณาจากการปฏิบัติงาน และการทดสอบที่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของรายวิชาหรือมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น


                                                                สื่อคณิตศาสตร์
                   นาฬิกา                                                                                              รูปทรง